วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

ประกอบคอมพิวเตอร์

ประกอบคอมพิวเตอร์
                  ปัจจุบันคอมพิวเตอร์เข้ามามีส่วนในชีวิตประจำวันของเราอย่างมากมาย
               ผู้คนให้ความ สนใจกันอย่าง กว้างขวาง แทบจะทุกคนที่ต้องมีความเกี่ยวพันและใช้งาน
               คอมพิวเตอร์ในทุกสาขาอาชีพ ทำให้คอมพิวเตอร์ได้รับการพัฒนาให้ประกอบและติดตั้ง
               เพื่อใช้งานได้ง่ายกว่าแต่ก่อนมาก... ดังนั้น  จึงไม่ใช่เรื่องยาก หากเราคิดที่จะประกอบ
               เครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมาและติดตั้งโปรแกรมใช้เอง....ใช่ไหม?

 ต้องเตรียมตัวอย่างไรก่อนการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์                              
                         http://www.thaigoodview.com/files/u3103/fura_p.gif  การประกอบชิ้นส่วนอุปกรณ์ขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น มีทั้งศาสตร์และศิลป์
            คือต้องมีความรู้เกี่ยวกับการทำงานของชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ และต้องวางแผนลำดับขั้นตอน
            การประกอบเครื่อง เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดเพราะหากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น อาจต้องถอด
            อุปกรณ์เข้าออกหลายครั้งซึ่งอาจจะทำให้ อุปกรณ์นั้นเสียหายได้  ดังนั้น...เราจึงควร
           จัดเตรียมสิ่งเหล่านี้นะคะ ...
             1.  เตรียมและทำความรู้จักกับอุปกรณ์ที่จำเป็น  

                     การเตรียมและทำความรู้จักกับอุปกรณ์ต่างๆ เ ป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้ประกอบคอมพิวเตอร์
         จะต้องทราบถึงความสำคัญและหน้าที่ของอุปกรณ์ที่จะประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์
         เรามาทำความรู้จักกับอุปกรณ์เหล่านี้เลยนะคะ..
เคส (Case)
 
http://www.thaigoodview.com/files/u3103/bulet_b.gif เคส (Case)
เป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นโครงหรือกล่องสำหรับบรรจุ
และยึดอุปกรณ์ต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์เอาไว้ภายใน  
เช่น แผงวงจรหลักฮาร์ดดิสก์ หน่วยความจำ หน่วย
ประมวลผลให้มีความมั่นคงกะทัดรัด เคลื่อนย้ายได้
ขณะเดียวกันก็เพื่อ ความปลอดภัย เช่นป้องกันไฟดูด
ป้องกันอุปกรณ์สูญหายและการป้องกันการส่งคลื่น
รบกวนการทำงานของอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ อาจทำ
มาจาก โครงเหล็ก อลูมิเนียม หรือพลาสติก ลักษณะ
ของเคสมีทั้งแบบแนวนอนและแนวตั้ง ปัจจุบันผู้ผลิต
มีการออกแบบรูปร่างหน้าสวยงามน่าใช้ ซึ่งมีมากมาย
หลายราคาให้เลือกใช้
เมนบอร์ด (Mainboard)
 http://www.thaigoodview.com/files/u3103/bulet_b.gif  เมนบอร์ด (Mainboard)
เมนบอร์ด คือ แผงวงจรหลักที่ประกอบไปด้วยชิ้นส่วน
อิเล็คทรอนิกส์ต่างๆ ทำหน้าที่เป็นกลางทำให้อุปกรณ์ต่างๆ
ทำงานร่วมกันได้และเป็นศูนย์กลางในการต่อเชื่อมอุปกรณ์อื่น
ไม่ว่าจะเป็น CPU, RAM, HDD, CD-ROM, FDD
VGA CARD เป็นต้น เมนบอร์ดแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อ
จะสนับสนุนอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ไม่เหมือนกัน เมนบอร์ดใน
ปัจจุบันมีอุปกรณ์มาพร้อมกับเมนบอร์ดมากขึ้น (on board)
ทำให้สามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ในราคา
ที่ไม่แพงนัก
ซีพียู (CPU)
 http://www.thaigoodview.com/files/u3103/bulet_b.gif ซีพียู (CPU:Central Processing Unit)
คือ หน่วยประมวลผลกลาง : เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุด
ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่คำนวณ และประมวลผล
คำสั่งข้อมูลต่าง ๆที่ผู้ใช้ สั่งผ่านเข้ามาเปรียบเสมือน
มันสมองของมนุษย์ ซีพียูได้รับการพัฒนาให้มีขีดความ
สามารถสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันบริษัทผู้ผลิตซีพียู
ที่รู้จักกันดี คือ Intel และ AMD
หน่วยความจำแรม (RAM )
http://www.thaigoodview.com/files/u3103/bulet_b.gif  หน่วยความจำแรม
(RAM:Random Access Memory)
เป็นหน่วยความจำหลักที่จำเป็น หน่วยความจำ ชนิดนี้
จะสามารถเก็บข้อมูลได้ เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้า
หล่อเลี้ยงเท่านั้นเมื่อใดก็ตามที่ ไม่มีกระแสไฟฟ้า มาเลี้ยง
ข้อมูลที่ อยู่ภาย ในหน่วยความจำชนิดนี้จะหายไปทันที
หน่วยความจำแรมทำหน้าที่ รับข้อมูลเพื่อส่งไปให้ CPU
ประมวลผล
ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk)
 http://www.thaigoodview.com/files/u3103/bulet_b.gif  ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk)
เป็นสื่อบันทึกข้อมูลประเภทหนึ่ง (Storage Device)
ปัจจุบันเป็นอุปกรณ์ ที่จำเป็น และ เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่
ติดตั้งมาพร้อมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง ใช้ในการ
ติดตั้งระบบปฏิบัติการลงโปรแกรม ประยุกต์และ เก็บข้อมูล
ของผู้ใช้ เนื่องจากโปรแกรมหรือข้อมูลในปัจจุบันมีขนาด
ใหญ่ไม่สามารถที่จะเก็บลงในแผ่นดิสเก็ตได้หมด ฮาร์ดดิสค์
จะบรรจุอยู่ในกล่องโลหะปิดสนิท เพื่อป้องกันสิ่งสกปรก
หลุดเข้าไปภายใน ซึพียู
เพาว์เวอร์ซัพพลาย
(Power Suppy)
http://www.thaigoodview.com/files/u3103/bulet_b.gif  เพาว์เวอร์ซัพพลาย (Power Suppy)
คือแหล่งจ่ายไฟ เป็นส่วนประกอบที่สำคัญส่วนหนึ่ง ทำหน้าที่
แปลง สัญญาณ ไฟฟ้ากระแสสลับ จากแหล่งกำเนิดให้เป็นไฟฟ้า
กระแสตรงด้วยความต่างศักย์ที่เหมาะสมก่อนเข้าสู่คอมพิวเตอร์
โดยมีสายเชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์ประกอบต่างๆ ภายในเครื่อง
ซึ่งในการแปลงสัญญาณไฟฟ้าดังกล่าวนี้จะก่อให้เกิดความร้อน
ขึ้นด้วย ดังนั้นภายในแหล่งจ่ายไฟ จึงต้องมีพัดลมเพื่อช่วยในการ
ระบายความร้อนออกจากตัวเครื่อง ซึ่งมีความสำคัญมากเพราะ
การที่เครื่องมีความร้อนที่สูงมาก ๆ นั้น อาจจะเกิดความเสียหาย
ต่ออุปกรณ์ประกอบภายในเครื่องได้ง่าย
การ์ดแสดงผล (Display Card)
  http://www.thaigoodview.com/files/u3103/bulet_b.gif  Display Card (การ์ดแสดงผล : การ์ดจอ)
หลักการทำงานพื้นฐานของการ์ดแสดงผลจะเริ่มต้นขึ้น เมื่อ
โปรแกรมต่างๆ ส่งข้อมูลมาประมวลผลที่ซีพียูเมื่อซีพียู
ประมวลผล เสร็จแล้ว ก็จะส่งข้อมูลที่จะนำมาแสดงผลบน
จอภาพมาที่การ์ดแสดงผล จากนั้น การ์ดแสดงผล ก็จะส่ง
ข้อมูลนี้มาที่จอภาพ ตามข้อมูลที่ได้รับมาการ์ดแสดงผล
รุ่นใหม่ๆ ที่ออกมาส่วนใหญ่ ก็จะมีวงจร ในการเร่งความเร็ว
การแสดงผลภาพสามมิติ และมีหน่วยความจำมาให้มาก
พอสมควร
Sound Card (การ์ดเสียง)
  http://www.thaigoodview.com/files/u3103/bulet_b.gif   Sound Card (การ์ดเสียง)
เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ประมวลภาพและสร้างสัญญาณเสียงต่างๆ
เพื่อส่งออกไปยังลำโพง การ์ดเสียงได้รับการพัฒนาคุณภาพ
อย่างรวดเร็วเพื่อ ให้ได้ประสิทธิภาพของเสียงและความผิดเพี้ยน
น้อยที่สุด ความชัดเจนของเสียง จะมีประสิทธิภาพดีเพียงใดนั้น
ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก 2 ประการ คือ อัตราการสุ่มตัวอย่าง และ
ความแม่นยำ ของตัวอย่างที่ได้ ซึ่งความแม่นยำของตัวอย่างนั้น
ถูกกำหนด โดยความสามารถของ A/D Converter ว่ามีความ
ละเอียดมากน้อยเพียงใด ทำอย่างไรจึงจะประมาณค่าสัญญาณ
ดิจิตอลได้ใกล้เคียงกับสัญญาณเสียงมากที่สุด ความละเอียดของ
A/D Converter นั้นถูกกำหนดโดยจำนวนบิตของสัญญาณ
ดิจิตอลเอาต์พุตหากจำนวนระดับมากขึ้นจะทำให้ความละเอียด
ยิ่งสูงขึ้นและการผิดเพี้ยนของสัญญาณเสียงยิ่งน้อยลง นั่นคือ
ประสิทธิภาพที่ของเสียง ที่ได้รับดีขึ้นนั่นเอง แต่จำนวนบิตต่อ
หนึ่งตัวอย่างจะมากขึ้นด้วย   
 http://www.thaigoodview.com/files/u3103/bulet_b.gif  ในปัจจุบันนั้นผู้ผลิตเมนบอร์ดต่างก็นำการ์ดเสียงเข้าไป
รวมกับแผงเมนบอร์ดเกือบทุกรุ่นแล้ว แต่การ์ดเสียงที่เป็นชิ้น
ก็ยังคงมีขายอยู่ในปัจจุบันเพราะการ์ดเสียงที่อยู่บนเมนบอร์ดนั้น
ยังมีข้อจำกัดบางอย่างที่ยังไม่สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ได้
ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์ (FDD)
  http://www.thaigoodview.com/files/u3103/bulet_b.gif   ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์ (FDD)
ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์ หรือที่เราเรียกง่ายๆ ว่า Drive A คือ อุปกรณ์
ที่ใช้สำหรับอ่านแผ่นฟล็อปปี้ดิสก์ ขนาด 3.5 " มีขนาดความจุ
1.44 MB. แต่ในอดีตนั้น ดิสก์ไดรว์ลักษณะนี้จะมีอยู่หลายขนาด
เช่น ขนาด 5 1/4" ซึ่งในอดีต เป็นที่นิยมใช้งานกันมากเพราะ
สามารถพกพาไปไหนได้สะดวกและโปรแกรมการใช้งาน
ในอดีตก็มีขนาดที่เล็กจนสามารถบันทึกลงไปในดิสก์แผ่นเดียวได้
ปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมนักผู้ใช้บางคนนิยมเลือกใช้เป็นการ์ดรีดเดอร์
หรือหน่วยความจำแบบเฟรส (แฮนดี้ไดรว์)
ซีดีรอมไดรว์ (CD-ROM )
http://www.thaigoodview.com/files/u3103/bulet_b.gif     ซีดีรอมไดร์ว (CD-ROM Drive)
คือ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับอ่านข้อมูลต่างๆ ที่อยู่บน CD-Rom
ซึ่งในปัจจุบันได้มีการพัฒนาซีดีรอมไดรว์ไห้สามารถเขียนแผ่น
CD-R ,CD-RW , DVD-R และ DVD-RW ได้ ซึ่งนอกจาก
ความหลากหลายในการอ่านและเขียนข้อมูลแล้ว ก็ยังได้มีการ
พัฒนาความเร็วในการอ่านและเขียนควบคู่กันไปด้วย
      
       2. ชุดเครื่องมือสำหรับประกอบเครื่อง      
                      คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ที่มีชิ้นส่วนค่อนข้างเล็ก  การหยิบจับ
            อาจจะไม่สะดวกจึงควรเตรียมชุด เครื่องมือสำหรับการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ดังนี้ค่ะ     



ตัวอย่างไขควง
 และน๊อตแบบต่างๆ 
          http://www.thaigoodview.com/files/u3103/mushroom_green.gif   ไขควงปากแบนและไขควงแฉกขนาดกลาง - ใช้ขันน๊อตยึดเมนบอร์ด
                    เข้ากับตัวเคส ยึดการ์ดเพิ่มเติมติดตั้งฟล็อบปี้ดิสก์ ซีดีรอมไดรว์ และฮาร์ดดิสก์
                    ตลอดจนการปิดฝาเคส
          http://www.thaigoodview.com/files/u3103/mushroom_green.gif   ตัวครีบสกรู - ใช้คีบน๊อตใส่ในช่องเกลียวสำหรับน๊อตในที่คับแคบที่ไม่สามารถ
                             ใช้มือจับได้
          http://www.thaigoodview.com/files/u3103/mushroom_green.gif   ตัวถอดชิป - ในเครื่องรุ่นเก่าตัวชิปมักจะติดตั้งอยู่ในซ็อกเก็ตในลักษณะ
                             ถอดเปลี่ยนได้ ซึ่งตัวถอดชิปจะช่วยได้มากแต่ในปัจจุบันชิปมักจะถูกฝัง
                             บนตัวการ์ดหรือเมนบอร์ดตั้งแต่ผลิตออกมาจากโรงงานแล้ว การถอด
                             ต้องใช้เครื่องมือพิเศษที่ผลิตมาโดยเฉพาะ
           http://www.thaigoodview.com/files/u3103/mushroom_green.gif   หลอดเก็บสกรูและจัมเปอร์ - ใช้สำหรับเก็บสกรูและจัมเปอร์ที่เหลือ
                             จากการประกอบเครื่อง ไว้ใช้ในยามจำเป็น
           http://www.thaigoodview.com/files/u3103/mushroom_green.gif   ปากคีบ - สำหรับคีบจับสกรูหรืออุปกรณ์ชิ้นเล็กๆ ที่ใช้มือที่หยิบไม่ได้
           http://www.thaigoodview.com/files/u3103/mushroom_green.gif   บล็อกหกเหลี่ยมขนาดเล็ก - ใช้สำหรับขันน๊อตหกเหลี่ยมตัวเมียกับ
                              แผงเหล็กของเคส เพื่อยึดเมนบอร์ดเข้ากับตัวเคส
           http://www.thaigoodview.com/files/u3103/mushroom_green.gif   หัวมะเฟือง -  สำหรับยึดน๊อตพิเศษแบบหกเหลี่ยมสำหรับอุปกรณ์
                             บางประเภทที่ทางผู้ผลิตไม่ต้องการให้ผู้ที่ไม่ใช่ช่างอาชีพมาแกะซ่อมเอง

          3. จัดเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมก่อนลงมือประกอบเครื่อง


อุปกรณ์ต่างๆ เช่น ซีพียู แรม เมนบอร์ด ฮาร์ดดิสก์   
           http://www.thaigoodview.com/files/u3103/fura_b.gif การจัดเตรียมอุปกรณ์จะต้องเริ่มด้วยๆ จากกล่องเพื่อเช็คสภาพและดูว่ามีอะไรบ้าง
     ซึ่งต้องทำอย่างระมัดระวังนะคะ จากนั้นเราต้องจัดวางอุปกรณ์นั้นๆ ไว้อย่างเป็นสัดส่วน และ
     เป็นระเบียบ หยิบใช้ ได้ สะดวกรวดเร็วค่ะลองใช้วิธีที่ดิฉันจะนำเสนอ นี้ดูนะคะ...อาจช่วยให้
     คุณ ๆ ประกอบคอมพิวเตอร์ได้อย่างราบรื่นและรวดเร็วค่ะ!...
  http://www.thaigoodview.com/files/u3103/bullet.gif   ซีพียู - เมื่อแกะออกมาแล้วให้ตรวจดูสภาพของขาซีพียูว่ามีการหักหรือคดงอหรือไม่ จากนั้น
                  จึงตรวจดูใบรับประกันว่าถูกต้องหรือไม่ หากไม่ถูกต้องควรนำไปให้ทางร้านที่จำหน่าย
                   ตรวจสอบอีกครั้งหนึ่ง
  http://www.thaigoodview.com/files/u3103/bullet.gif  แรม - ตรวจดูสภาพว่ามีร่องรอยชำรุดหรือไม่ และตรวจดูระยะ เวลาสิ้นสุดการประกัน เช่น เดือน
                    ปี ค.ศ. บนสติกเกอร์รับประกันว่าถูกต้องหรือไม่
  http://www.thaigoodview.com/files/u3103/bullet.gif  ฮาร์ดดิสก์ - ตรวจดูสภาพว่ามีร่องรอยชำรุดหรือไม่ และตรวจดูระยะเวลาสิ้นสุดการประกัน
                     บนสติกเกอร์รับประกันที่ติดมาบนตัวฮาร์ดดิสก์ด้วย
  http://www.thaigoodview.com/files/u3103/bullet.gif  เมนบอร์ด - เมื่อแกะกล่องออกมาให้ครวจดูว่ามีอุปกรณ์ เช่น แผ่นซีดีไดร์วเวอร์ และสายสัญญาณต่างๆ
                      มาให้ครบถ้วนหรือไม่ จากนั้นจึงตรวจสอบดูสภาพของเมนบอร์ดว่ามีร่องรอยชำรุดหรือไม่
                     และต้องไม่ลือตรวจดูระยะเวลา  สิ้นสุดการรับประกัน บนสติกเกอร์รับประกันที่ติดอยู่ด้วย

  http://www.thaigoodview.com/files/u3103/bullet.gif  อุปกรณ์อื่นๆ - เช่น การ์ดจอ, การ์เสียง, การ์ดโมเดม และจอภาพหลังจากแกะกล่องออกมาแล้ว
                        ก็ตรวจดูเดียวกับเมนบอร์ด คือ ดูว่ามีอะไรให้มาบ้าง สภาพเป็นอย่างไรระยะเวลาสิ้นสุด
                        การรับประกัน ถูกต้องหรือไม่ 
                        
   ขั้นตอนการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์    
                หลังจากที่เราจัดเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ พร้อมแล้วเราจะเริ่มประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์
         เพื่อใช้งานกันค่ะ  เพื่อให้สามารถประกอบเครื่องอย่างราบรื่น จึงขอลำดับขั้นตอนการประกอบ อุปกรณ์
         เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ออกเป็น 12 ขั้นตอน ดังนี้ค่ะ 
     
คลิกขั้นตอนการประกอบเครื่อง      
        ขั้นตอนที่ 1   1. เตรียมเคสสำหรับติดตั้งเมนบอร์ด
        ขั้นตอนที่ 2  2. ติดตั้งซีพียูบนเมนบอร์ด
        ขั้นตอนที่ 3   3. ติดตั้งแรมเข้ากับบนเมนบอร์ด
        
ขั้นตอนที่ 4   4. ติดตั้งเมนบอร์ดเข้ากับตัวเคส
        
ขั้นตอนที่ 5   5. ติดตั้งฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์
        ขั้นตอนที่ 6   6. ติดตั้งฮาร์ดิสก์
        
ขั้นตอนที่ 7   7. ติดตั้งซีดีรอม/ ดีวีดีรอม 
        ขั้นตอนที่ 8   8. ติดตั้งการ์ดจอ/ การ์ดเสียง
        
ขั้นตอนที่ 9   9. ต่อสายจ่ายไฟและสายสัญญาณเข้ากับเมนบอร์ด
        ขั้นตอนที่ 10   10. ประกอบอุปกรณ์ ภายนอกเข้ากับเข้ากับตัวเครื่อง
        ขั้นตอนที่ 11   11. ตรวจสอบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
         ขั้นตอนที่ 12   12. ติดตั้งอุปกรณ์เพิ่ม (ถ้าจำเป็น)

             เตรียมเคสสำหรับติดตั้งเมนบอร์ด
                ขั้นตอนนี้ เป็นขั้นเริ่มต้นสำหรับการประกอบเครื่อง ใช้ไขควงขันน๊อตยึดตัวเคส (Case)
        แล้วเปิดฝาข้างออกก็จะได้รูปร่างดังรูปที่เห็นข้างล่างนี้...ภายในเคสจะมีชุดน๊อตประกอบเครื่อง
        สายพาวเวอร์เครื่อง  จากนั้นให้แกะออกมาจัดเตรียมให้พร้อมแล้วเปิดแผงเหล็กกั้นด้านข้าง
        ตัวเคสออกมา เพื่อเตรียมประกอบเข้ากับเมนบอร์ด
        
ภาพการจัดเตรียมเคสเพื่อประกอบคอมพิวเตอร์
                ติดตั้งซีพียูบนเมนบอร์ด
                  การติดตั้งซีพียูบนเมนบอร์ดในปัจจุบันจะสะดวกกว่าเมื่อก่อนมาก เนื่องจากส่วนใหญ่
     จะเป็นซ็อคเก็ต (Socket) หรือที่เราใช้เรียกชื่ออย่างเป็นทางการว่า PGA (pin Grid Array)
     ซีพียูที่ใช้ช่องเสียบหรือซ็อคเก็ตแบบ PGA นั้นก็คือ ซีพียูที่มีขาทั้งตัวอยู่ใต้แผ่นเซรามิคหรือ
     แผ่นพลาสติกแบนๆ  ซึ่งมีหลายรุ่นและใช้เสียบ กับซ็อคเก็ต แบบต่างๆกัน ซ็อคเก็ตในปัจจุบัน
     จะเป็นแบบ ZIF (Zero InsertionForce)ที่เพียงแต่ง้างกระเดื่องอกทางด้านข้าง แล้วโยก
     ขึ้นมา จากนั้นก็วางซีพียูลงไป แล้วกดกระเดื่องกลับเข้าไป โดยดันกลับไปจนสุดกระเดื่องจะกลับ
     เข้าล็อคและยึดซีพียูให้อยู่กับที่  ดังนั้นเวลาติดตั้งกับซ็อคเก็ตบนเมนบอร์ดให้หันมุมที่มีรอยหยัก
     ให้ตรงกับด้านที่มีรอยหักบนเมนบอร์ดก็จะเสียบได้พอดี  แต่หากใส่ไม่เข้าอย่าฝืนดันเข้าไปนะคะ !...
    
      #...ควรถอดออกมาตรวจสอบและตรวจดูมุมหักให้ถูกต้องแล้วจึงใส่เข้าไปใหม่ค่ะ...#
              หลังจากนั้นก็ทำการติดตั้งพัดลมระบายความร้อนให้กับซีพียู หรือHeat Sink ลงบน
       ตัวซีพียูเพื่อช่วยระบายความร้อนโดยก่อนติดตั้งควรทาซิลิโคนให้เป็นฟิล์มบางๆ ลงบน Core
       ของซีพียูเสียก่อน เพื่อช่วยถ่ายเทความร้อนจากซีพียูไปสู่ตัว Heat Sink  ได้ดียิ่งขึ้น หรือถ้า
       Heat Sink  มีแผ่นช่วยระบายความร้อนติดมาให้แล้วก็สามารถใช้แทนซิลิโคน  หลังจากวาง
       Heat Sink  ลงไปบนซีพียูแล้วให้ยึดคลิปโลหะเข้าขอเกี่ยวให้เรียบร้อยเพื่อยึดให้Heat Sink
       อยู่กับที่  จากนั้นก็ต่อสายจากตัวพัดลมระบายความร้อนลงไปต่อที่ขั้วจ่ายไฟ 12 โวลต์
       บนเมนบอร์ด
   http://www.thaigoodview.com/files/u3103/bullet.gif  ขั้นตอนการติดตั้งฮีตซิงค์ (Heat Sink)
        1.  ทำการวางฮิตซิงค์ลงไปในบล็อกของฐานติดตั้งให้ฐานล่างของฮีตซิงค์สัมผัสกับผิวหน้า
             ของซีพียูพอดี
        2.  กดฮีตซิงค์ลงไปบนฐานรอง โดยกดให้เขี้ยวของฮีพซิงค์ล็อคเข้ากับขาของฐานรองทั้งสี่ด้าน
        3.  สับคันโยกของฮีตซิงค์ เพื่อยึดตัวฮีตซิงค์เข้ากับซีพียู ให้ระวังทิศทางของคานล็อคด้วย
        4.  เมื่อติดตั้งฮีตซิงค์เรียบร้อยแล้ว ให้เสียบสายพัดลมซีพียู เข้ากับขั้วต่อพัดลมบนเมนบอร์ด
ภาพติดตั้งซีพียูบนเมนบอร์ดฮีตซิงค์และพัดลมซีพียู

           ติดตั้งแรมเข้ากับบนเมนบอร์ด
                   การติดตั้งแรมเข้ากับเมนบอร์ดทำได้ไม่ยากมีหลักอยู่ว่าในช่องเสียบแรมชนิดต่างๆ
      จะมีคันล็อคอยู่ในตำแหน่งต่างกัน  เพื่อป้องกันการเสียบแรมผิดด้าน จะทำให้แรมไหม้เสีย ดังนั้น
      ก่อนเสียบแรม ทั้งแบบ SDRAM,DDRSDRAM และ RDRAM ควรตรวจดูคันล็อคว่าอยู่ด้านใด
      และใส่แรมให้ถูกด้าน
        
        โดยมีขั้นตอนดังนี้
      1.  ตรวจดูตำแหน่งของ Slot ที่จะใส่ RAM โดยสังเกตจากตัวอักษร DIMM 0,1,2 และ 3
           ที่อยู่ตรงปลายด้านหนึ่งของ Slot โดยปกติแล้วเราจะเสียบลงบน Slot ใดก็ได้แต่ควรจะ
           เริ่มต้นเสียบ RAM ตัวแรกลงใน DIMM 0 ก่อน
      2.  ให้ง้างตัวล็อคที่ปลายทั้งสองด้านของ DIMM 0ออกจากกัน
      3.  เสียบแผงหน่วยความจำ SDRAM ลงในช่องและกด RAM ลงไปเบาๆ บน Slot
           โดยให้ด้านที่มีรอยบากตรงกับบ่าที่อยู่ตรงกลาง slot
      4.  ดันตัวล็อคที่ปลายทั้งสองข้างกลับเข้าที่ให้แน่นโดยให้เดือยที่ตัวล็อคตรงกับรอยบาก
           ด้านข้างของแผงหน่วยความจำพอดีหรือโดยปกติแล้วเวลากด RAM ลงไปใน Slot ตรงๆ
           ตัวล็อคทั้งสองข้างจะดีดกลับขึ้นมาล็อคเองโดยอัตโนมัติ
ภาพการติดตั้งแรม
            ติดตั้งเมนบอร์ดเข้ากับตัวเคส              
                 ภายในกล่องเมนบอร์ดประกอบด้วยตัวเมนบอร์ด สายฮาร์ดดิสก์/ฟล็อปปี้ดิสก์ คู่มือเมนบอร์ด
      และแผ่นซีดีไดร์เวอร์เมนบอร์ดมาให้ด้วย ให้ตรวจดูความเรียบร้อยก่อน สิ่งที่สำคัญที่สุดในขั้นตอนนี้
      คือ เมื่อติดตั้งเมนบอร์ดเข้ากับแผงเคสแล้ว ให้กำหนดจัมเปอร์บนเมนบอร์ดเป็น "Normal"
      (เมนบอร์ดที่ซื้อมาทุกอันจะถูกกำหนดจัมเปอร์ไว้เป็น "Clear CMOS" เพื่อป้องกันแบตเตอรี่หมด)
      เพราะหากไม่กำหนดจัมเปอร์ให้ถูกต้อง หลังประกอบเครื่องแล้วจะบู๊ตเครื่องไม่ได้
      

        http://www.thaigoodview.com/files/u3103/star_p.gif   การติดตั้งเมนบอร์ด
  มีขั้นตอนดังนี้
         1.  แกะกล่องเมนบอร์ดตรวจดูคู่มือ และอุปกรณ์ต่างๆ ให้พร้อม
         2.  ขันแแท่นรองน๊อตเข้ากับแท่นเครื่องให้ตรงกับช่องบนเมนบอร์ด
         3.  วางทาบให้ช่องบนเมนบอร์ดตรงกับรูแท่นรองน๊อตที่ขันยึดกับแผงเคส
              โดยสังเกตให้ร่องแท่นรองน็อตตรงกับเมนบอร์ดทุกช่อง   
         4.  ขันน๊อตลงบนแท่นรองน๊อต เพื่อยึดเมนบอร์ดเข้ากับแผงเคส
         5.  ให้คีมปากจิ้งจกคีบจัมเปอร์ มาใส่ไว้ในตำแหน่ง "Normal"

การติดตั้งเมนบอร์ดเข้ากับเคส
 ติดตั้งฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์       
                  การติดตั้งฟล็อปปี้ดิสก์ค่อนข้างง่ายกว่าติดตั้งอุปกรณ์อื่น เพราะมีสายที่ต้องติดตั้งเพียงสองเส้นคือ
       สายไฟและสายสัญญาณ การติดตั้งสายไฟจะมีหัวล็อกอยู่ ถ้าไม่พอดีอย่าฝืนดันเข้าไปส่วนสายสัญญาณให้
       เสียบขาที่หนึ่งให้ตรงกับฟล็อปปี้ดิสก์ มีหลักในการสังเกตคือเมื่อเสียบสายทั้งสองเส้นเข้ากับฟล็อปปี้ดิสก์แล้ว      
       สายไฟเส้นสีแดงและสายสัญญาณด้านที่มีสีแดงต้องอยู่ชิดกัน
         มีขั้นตอนดังนี้
       1.  ใส่ฟล็อปปี้ดิสก์เข้าไปในช่องติดตั้งและดันเข้าไปให้สุด
       2.  ใช้ไขควงขัดน็อตยึดฟล็อปปี้ดิสก์เข้ากับช่องเคส
       3.  เสียบสายไฟและสายสัญญาณเข้ากับไดร์วให้ถูกด้าน ฟล็อปปี้ดิสก์บางรุ่น
            เมื่อติดสายแล้วสายสีแดงของสายจ่ายไฟจะอยู่ด้านนอก กรณีนี้ให้เสียบ
            สายสัญญาณด้านสีแดงอยู่ด้านนอกด้วย โดยยึดหลักถ้าอยู่ด้านในให้ชิดกัน
            ถ้าอยู่ด้านนอกให้ตรงข้ามกัน
       4.  เสียบปลายสายสัญญาณอีกด้านเข้ากับช่องเสียบเมนบอร์ดโดยให้ด้าน
            ที่มีสีแดงตรงกับขาหนึ่งบนเมนบอร์ด (มีเลขกำกับไว้)
ภาพการติดตั้งฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์
ติดตั้งฮาร์ดิสก์           
               ก่อนการติดฮาร์ดดิสก์เข้าเครื่องให้กำหนดจับเปอร์ฮาร์ดดิสก์ก่อนโดยถ้าฮาร์ดดิสก์ลูกแรกสำหรับ     
       ติดตั้งและบู๊ตระบบต้องกำหนดให้เป็น Master อย่างเดียว สำหรับฮาร์ดดิสก์ ลูกที่สองที่ติดตั้งบนสาย
       เดียวกันกำหนดเป็น slave และให้ติดตั้งสายสองเส้นเช่นเดียวกับฟล็อปปี้ดิสก์คือสายจ่ายไฟและสาย
       สัญญาณเสียบให้ถูกด้านโดยสายจ่ายไฟจะมีรอบหักมุมบนส่วนสายสัญญาณให้สังเกตขาหนึ่งเป็นหลัก
       โดยจะมี  ตัวเลขกำกับไว้ที่ท้ายไดรว์ส่วนตัวสายขาหนึ่งจะมีสีแดง
          
       โดยมีขั้นตอนดังนี้
       1.  กำหนดจัมเปอร์ฮาร์ดดิสก์ไว้ที่ตำแหน่ง master เพื่อบู๊ตเครื่อง
       2.  ใส่ฮาร์ดดิสก์เข้าไปในช่องใส่ไดร์วในเคสโดยดันไปให้สุดและขยับให้
            ช่องขันน็อตของตัวไดร์วตรงกับรูยึดด้านข้างของตัวเคส
       3.  ขันน็อตยึดฮาร์ดดิสก์เข้ากับผลังยึดตัวเคสทั้งสองด้าน
       4.  เสียบสายจ่ายไฟและสายสัญญาณเข้าที่ท้ายฮาร์ดดิสก์ โดยให้สายจ่ายไฟ
            ด้านที่มีรอยหักมุมอยู่บน ส่วนสายสัญญาณให้ด้านที่มีเส้นสีแดงอยู่ชิดกับสาย
            จ่ายไฟ  (สายสัญญาณสีแดงชิดกับสายจ่ายไฟสีแดง)
       5.  นำปลายอีกด้านของสายสัญญาณเสียบเข้ากับช่องต่อบนเมนบอร์ด
            โดยให้เส้นสีแดงอยู่ตรงกับขาหนึ่งบนเมนบอร์ด ซึ่งจะมีตัวเลขกำกับอยู่

            ติดตั้งซีดีรอม/ ดีวีดีรอม
                การติดตั้งซีดีรอมหรือดีวีดีรอม :  
                      มีหลักการคือให้กำหนดจัมเปอร์ที่ด้านหลังตัวไดรว์ก่อน เพื่อใช้สายเส้นเดียว
       กับฮาร์ดดิสก์ หรือจะใช้สาย IDE อีกเส้นหนึ่งก็ได้  หากใช้สายสัญญาณเส้นเดียวกับ
       ฮาร์ดดิสก์ ให้กำหนดเป็น slave เพื่อใช้สายเส้นเดียวกับฮาร์ดดิสก์ หรือจะใช้สาย IDE
       อีกเส้นหนึ่งก็ได้
      1. กำหนดจัมเปอร์ด้านหลังไดร์วให้เป็น slave เพื่อใช้สายเส้นเดียวกับฮาร์ดดิสก์
          หรือจะใช้สาย IDE อีกเส้นหนึ่งก็ได้
      2. เพื่อใช้สายเส้นเดียวกับฮาร์ดดิสก์ หรือจะใช้สาย IDE อีกเส้นหนึ่งก็ได้   
      3. ขันยึดน็อตเพื่อยึดไดร์วเข้ากับตัวเคสให้แน่นทั้งสองด้าน
      4. เสียบสายจ่ายไฟและสายสัญญาณเข้าท้ายไดฟ์โดยใช้ หลักการเดียวกับฮาร์ดดิสก์
          คือจ่ายสายไฟด้านที่มีรอยหักอยู่บน ส่วนสายสัญญาณให้เส้นที่หนึ่ง (สีแดง)
           อยู่ชิดกับสายจ่ายไฟ (แดงชนแดง) จากนั้นนำสายสัญญาณเสียงเสียบเข้าท้าย
          ไดร์วให้สุด
      5. นำปลายอีกข้างของสายสัญญาณไปเสียบบนเมนบอร์ดให้ด้านที่ มีสีแดง อยู่ตรงกับ
          ขาหนึ่งบนเมนบอร์ด
ภาพการติดตั้งซีดีรอมหรือดีวีดีรอม

            ติดตั้งการ์ดจอและการ์ดเสียงเข้ากับเมนบอร์ด
                  การติดตั้งการ์ดจอ 
            ขั้นนี้ต้องติดตั้งอุปกรณ์ลงบนเมนบอร์ดและยึดกับตัวเคสด้วยจึงต้องประกอบเมนบอร์ด
      พร้อมฝาข้างกับเข้าตัวเคสก่อนแล้วจึงเสียบการ์ดต่างๆ ลงบนเมนบอร์ดได้  ดังนี้
      1. นำเมนบอร์ดพร้อมแผงรองเกี่ยวเข้ากับตัวเคสเพื่อเตรียมปิดเข้าที่เดิม
      2. ขันน๊อต หรือยึดสลักปิดฝาข้างเคสให้แน่น โดยตรวจสอบดูว่าได้เก็บสายสัญญาณต่างๆ
          เรียบร้อยหรือยัง
      3. นำการ์ดจอไปเสียบเข้ากับ slot บนเมนบอร์ด โดยดันลงไปตรงๆให้แน่น แล้วจึงขันน็อตไว้
          โดยยึดเข้ากับตัวเคส
          http://www.thaigoodview.com/files/u3103/star_p.gif   การติดตั้งการ์ดเสียง 
                 มีวิธีการเหมือนกับการติดตั้งการ์ดจอ โดยมองหาสล๊อต PCI ซึ่งเป็นสล๊อต
      ที่มีมากที่สุดในเครื่อง เสียบตัวการ์ดลงไปให้แน่นใช้น๊อตยึดเข้ากับเคส มีขั้นตอนพิเศษ
      คือให้เสียบสายสัญญาณเสียงที่ต่อกับท้ายได้ฟ์ซีดีรอม/ดีวีดีรอมเข้ากับขั้วต่อบนการ์ดเสียง
      โดยมีขั้นตอนดังนี้
       1. เตรียมการ์ดเสียงและมองหาสล๊อตแบบ PCI บนเมนบอร์ด
       2. นำการ์ดเสียงเสียบเข้ากับสล๊อดแบบ PCIบนเมนบอร์ดให้แน่นโดยการขันน๊อต
          เข้ากับท้ายเคสให้แน่น
       3. นำสายสัญญาณอีกข้างหนึ่งมาเสียบกับขั้วรับ CD-IN บนการ์ดเสียงโดยเสียบด้านใด
           ก็ได้เนื่องจากเป็นแค่ช่องเสียงเท่านั้น
ภาพการติดตั้งการ์ดจอและการ์ดเสียง

           ต่อสายจ่ายไฟและสายสัญญาณเข้ากับเมนบอร์ด
                 ขั้นตอนนี้เป็นการติดตั้งสายชนิดต่างๆ ที่อยู่ภายในตัวเคสเข้ากับเมนบอร์ดเพื่อให้
       เครื่องทำงานได้ ซึ่งได้แก่ สายจ่ายไฟให้กับเมนบอร์ด, สาย Power LED , สาย Power
       Switch , สาย HDD LED , สาย Reset และสาย  Speaker ซึ่งเป็นสายหลักที่จะต้อง
       มีในทุกเครื่อง  สายไฟหรือสายสัญญาณต่างๆ  ที่จะต้องต่อภายในเครื่องจากเมนบอร์ดมายังปุ่ม
       และไฟที่อยู่หน้าเครื่อง และลำโพงภายในตัวเครื่อง  ซึ่งจำเป็นมากเพราะเสียงสามารถเป็นตัวบอก
       ให้ทราบว่าส่วนใดมีปัญหา การเชื่อมต่อสายหน้าเครื่องเข้ากับเมนบอร์ด ขั้วสำหรับต่อสายต่างๆ
       เข้ากับหน้าเครื่องได้แก่ สวิทช์ปิด-เปิดเครื่อง , ไฟสถานะการเปิดเครื่อง , ปุ่ม RESET, ลำโพง ,
       ไฟสถานะฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น
          โดยมีขั้นตอนคือ 
         http://www.thaigoodview.com/files/u3103/star_p.gif   ต่อสายจ่ายไฟเลี้ยงเมนบอร์ด 
       1.  มองหาช่องรับไฟเลี้ยงบนเมนบอร์ดซึ่งเป็นขั้วสีขาวมีจำนวน 20 ช่อง เมื่อพบแล้วให้เตียม
           จัดขั้วจ่ายไฟเลี้ยงจากตัวเคสไว้
       2.  นำสายจ่ายไฟเลี้ยงจากตัวเคสไปเสียบกับช่องรับไฟ เลี้ยงสีขาวบนเมนบอร์ดให้ด้านที่มี
            หัวล็อคตรงกัน   
       3.  หลังจากนั้นให้เสียบสายจ่ายไฟลงไปบนช่องรับไฟเมนบอร์ดให้แน่น
       http://www.thaigoodview.com/files/u3103/star_p.gif    สายสัญญาณเครื่อง
       1.  ตรวจดูสาย Pin สำหรับเสียบสายสัญญาณบนเมนบอร์ดเปรียบเทียบกับภาพในคู่มือเมนบอร์ด
           เพื่อให้ขาสัญญาณสำหรับสายชนิดต่างๆ
       2.  เมื่อทราบตำแหน่งที่ตั้งขาเสียบสายสัญญาณแล้วให้นำสายสัญญาณภายในเคสไปเสียบเข้ากับ
            ขาเสียบบนเมนบอร์ด
      
เสียบสายไฟและสายสัญญาณให้ตรงกัน
    หลังจากเสียบสายสัญญาณทุกเส้นแล้วให้นำฝาเคสมาปิดให้เรียบร้อย
ก็จะได้ คอมพิวเตอร์เครื่องใหม่  ที่ประกอบไว้พร้อมสำหรับการติดตั้งระบบต่อไป
      ประกอบอุปกรณ์ภายนอกเข้ากับเข้ากับตัวเครื่อง

                อุปกรณ์ภายนอกที่เป็นพื้นฐานสำหรับการใช้งานเครื่อง ได้แก่ การติดตั้งสายสัญญาณ
       จอภาพลำโพง สายจ่ายไฟ   คีย์บอร์ดและเมาส์เข้ากับเครื่อง

         ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
      1.  เสียบหัวต่อคีย์บอร์ดเข้ากับช่องเสียบบนเครื่อง ซึ่งช่องเสียบจะเป็นสีม่วงให้หันรอบบากให้ตรงกับ
           ร่องล็อคของช่องเสียบ      
      2.  เสียบหัวต่อเมาส์ท้ายเครื่อง ซึ่งจะเป็นสีเขียวอ่อน ให้หันรอบบากให้ตรงกับร่องของช่องเสียบ
      3.  นำหัวต่อสัญญาณจอภาพ มาเทียบกับขั้วต่อจอภาพท้ายเคส ให้ด้านใหญ่-เล็กตรงกัน
           แล้วเสียบให้แน่นพร้อมกับขันเกลียวด้วยน็อตที่อยู่ท้ายหัวต่อจอภาพ
      4.  เสียบสายแจ็คลำโพงเข้ากับช่อง Speaker ท้ายเคส
      5.  เสียบสายจ่ายไฟเลี้ยงจอภาพที่ท้ายเคส (อยู่ด้านหลัง Power Supply) ซึ่งเป็นช่องจ่ายไฟ
      6.  จากนั้นจึงนำสายจ่ายไฟเสียบเข้ากับไฟบ้านที่ท้ายเคส ซึ่งมักมีตัวอักษรกำกับไว้ เช่น AC230V
       
การเสียบสายสัญญาณกับอุปกรณ์ภายนอก

         ตรวจสอบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
              ก่อนที่จะทดลองเปิดเครื่องครั้งแรก ควรจะตรวจสอบความเรียบร้อยเครื่อง
      เสียก่อนเพื่อลดปัญหาที่อาจร้ายแรงถึงขั้นทำให้อุปกรณ์เสียหายได้ โดยการดูด้วย
      ตาเปล่า ดังนี้   
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประกอบเสร็จแล้ว
        http://www.thaigoodview.com/files/u3103/star_p.gif    ตรวจสอบทั่วไป   
      1.  ตรวจสอบการติดตั้งซีพียู ชุดระบายความร้อน และแรมว่าแน่นหนาเข้าล็อค
           ดีแล้วหรือไม่ แรมต้องไม่เอียงและต้องให้แน่นสนิทไม่มีร่องใดๆ
      2.  ตรวจสอบเมนบอร์ดว่าไม่มีส่วนใดแนบชิดกับตัวเครื่อง ซึ่งเป็นสื่อที่
           อาจจะทำให้เกิดการลัดวงจรได้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งขาและสกรูสำหรับ
           ยึดเมนบอร์ด ระวังอย่างให้ส่วนอื่นของเมนบอร์ดไปติดกับขานี้โดยตรง
      3.  ตรวจสอบสายไฟทั้งหมดว่าถูกต้องแน่นหนา ไม่สลับขั้วกัน
      4.  ตรวจสอบสายสัญญาณทั้งหมด เช่น สายแพหรือสายสัญญาณสำหรับ
           ฮาร์ดดิสก์ ฟล็อปปปี้ดิสก์ และซีดีรอมไดร์ว สายไฟและสายสัญญาณที่ต่อ
           ไปยังหน้าเครื่องไม่ให้เหลื่อมโดยเด็ดขาด เพราะถ้าไม่ถูกต้องจะทำให้ปุ่ม
           เปิดเครื่อง หรือไฟแสดงสถานะทำงานผิดพลาด
      5.  ตรวจสอบการ์ดต่างๆ ว่าเสียบแน่นสนิทดีหรือไม่    
             ปัญหาและแนวทางการแก้ไข
อาการ
สาเหตุที่เป็นไปได้
แนวทางการแก้ไข
  - ทุกอย่างเงียบไม่มีทั้งไฟ
     และเสียง
 - ไฟเลี้ยงไม่เข้า
 - ตรวจสอบปลั๊ก , สวิทช์ , สายต่อเมนบอร์ด
  - ไฟไม่เข้าแต่มีเสียงปิ๊บๆ
  - หลายๆ เสียง
 - RAM และการ์ดจอไม่ถูกต้อง
 - ตรวจสอบ RAM และการ์ดจอว่าแน่น หรือไม่
  - จอไม่แสดงผลและมีเสียง
     ปิ๊บเดียว หรือสองปิ๊บ
 - ไฟไม่เข้าจอ
 - ตรวจดูสายไฟ และสวิทช
  - ทุกอย่างปกติแต่
  - ไฟฮาร์ดดิสก์ไม่ติด
 - สายสัญญาณไม่ถูก
 - ตรวจสอบว่าเสียบสายถูกต้องหรือไม่ ,
   กลับขั้วกันหรือไม่


      ติดตั้งอุปกรณ์เพิ่ม (ถ้าจำเป็น)   
             นอกจากอุปกรณ์มาตรฐานแล้ว อาจมีอุปกรณ์อื่นๆอีกมากมายที่สามารถติดตั้งเพิ่มเติมเข้าไปได้อีก
     ทั้งแบบติดตั้งภายในตัวเครื่อง เช่น ฮาร์ดดิสก์ตัวที่สอง และไดร์วต่างๆและแบบที่ติดตั้งเข้ากับพอร์ตต่างๆ
    เช่น พริ้นเตอร์, (Printer),สแกนเนอร์, โมเด็ม (External), Access Point,USB Flash Drive,
    กล้องดิจิตอล และกล้องถ่ายวิดีโอดิจิตอล เป็นต้น  ซึ่งอาจจะมีรายละเอียดและวิธีการกำหนดให้ใช้งาน
    ที่แตกต่างกันไป

อุปกรณ์ที่สามารถติดตั้งเพิ่มเติม
     http://www.thaigoodview.com/files/u3103/star_g.gif  ปัจจุบันพอร์ต USB ได้กลายมาเป็นมาตรฐานสำหรับการเชื่อมต่อพีซีกับอุปกรณ์ต่างๆ
    ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาใหม่โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อแทนพอร์ตอุปกรณ์ความเร็วต่ำแบบต่างๆที่ใช้กันอยู่เดิม
    ไม่ว่าจะเป็นพอร์ตอนุกรม,พอร์ตขนานและพอร์ต PS/2 สำหรับเมาส์และคีย์บอร์ด  ตลอดจถึงพอร์ตเกม
    และอื่นๆโดยจะมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับความเร็วของอุปกรณ์รุ่นใหม่ๆ  ที่นับวัน
    จะเร็วขึ้นทุกทีจนเกินกว่าพอร์ตแบบเดิมจะรับไหว 
         http://www.thaigoodview.com/files/u3103/fura_b.gif อุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ในปัจจุบันส่วนใหญ่มักถูกออกแบบมาให้เชื่อมต่อกับพีซีผ่านทางพอร์ต
    USB เช่น พริ้นเตอร์, (Printer), สแกนเนอร์, อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบพกพา (Flash Drive)
    และอื่นๆ โดยเชื่อมผ่านทางสาย USB เครื่องคอมพิวเตอร์จะสามารถตรวจสอบได้โดยอัตโนมัติว่า
    อุปกรณ์นั้นคืออะไร และปรับตั้งคอยฟิกูเรชั่น หรือทรัพยากรต่างๆ  เพื่อให้ใช้งานอุปกรณ์ดังกล่าวได้
    ทันที ซึ่งเราเรียกว่าควสามารถในการทำงานแบบ Plug and Play นั่นเอง
    
     

ตัวอย่างอุปกรณ์ต่างเชื่อมพอร์ต USB MP3 , Flash Drive

        http://www.thaigoodview.com/files/u3103/bulet_r.gif  เมื่ออเราประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์และติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ แล้ว ก็จะเป็นการกำหนดค่า BIOS
     การแบ่งพาร์ติชั่น ติดตั้งระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์ต่างๆ  เพื่อใช้ในการทำงานที่สมบูรณ์ ......
     ซึ่งครูใจดี จะได้นำเสนอในเรื่องต่อไป…    อย่าลืมติดตามนะคะ

         http://www.thaigoodview.com/files/u3103/bulet_r.gif  หมายเหตุ : สำหรับภาพประกอบเรื่องการประกอบคอมพิวเตอร์นี้ ค่อนข้างเล็ก และ
                             แสดงขั้นตอนไม่ละเอียด เพราะต้องประหยัดพื้นที่ของเว็บค่ะที่จริงแล้ว
                             ได้ถ่ายรูปทุกขั้นตอนและถ่ายเป็นไฟล์วิดีโอสาธิตการประกอบแต่ละขั้นตอน
                             ไว้ด้วย แต่ไม่สามารถอัพโหลดภาพดังกล่าวได้จึงต้องบีบภาพให้มีขนาดเล็กๆ
                             " ครูใจดี " ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย!...ส่วนภาพเคลื่อนไหวที่ใช้ในการ
                              ตกแต่งเว็บก็นำมาจากเว็บที่ให้บริการทั่วๆ ไป ซึ่งขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ค่ะ