2. ชุดเครื่องมือสำหรับประกอบเครื่อง คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ที่มีชิ้นส่วนค่อนข้างเล็ก การหยิบจับ อาจจะไม่สะดวกจึงควรเตรียมชุด เครื่องมือสำหรับการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ดังนี้ค่ะ
ตัวอย่างไขควง และน๊อตแบบต่างๆ ไขควงปากแบนและไขควงแฉกขนาดกลาง - ใช้ขันน๊อตยึดเมนบอร์ด
เข้ากับตัวเคส ยึดการ์ดเพิ่มเติมติดตั้งฟล็อบปี้ดิสก์ ซีดีรอมไดรว์ และฮาร์ดดิสก์
ตลอดจนการปิดฝาเคส ตัวครีบสกรู - ใช้คีบน๊อตใส่ในช่องเกลียวสำหรับน๊อตในที่คับแคบที่ไม่สามารถ
ใช้มือจับได้ ตัวถอดชิป - ในเครื่องรุ่นเก่าตัวชิปมักจะติดตั้งอยู่ในซ็อกเก็ตในลักษณะ
ถอดเปลี่ยนได้ ซึ่งตัวถอดชิปจะช่วยได้มากแต่ในปัจจุบันชิปมักจะถูกฝัง
บนตัวการ์ดหรือเมนบอร์ดตั้งแต่ผลิตออกมาจากโรงงานแล้ว การถอด
ต้องใช้เครื่องมือพิเศษที่ผลิตมาโดยเฉพาะ หลอดเก็บสกรูและจัมเปอร์ - ใช้สำหรับเก็บสกรูและจัมเปอร์ที่เหลือ
จากการประกอบเครื่อง ไว้ใช้ในยามจำเป็น ปากคีบ - สำหรับคีบจับสกรูหรืออุปกรณ์ชิ้นเล็กๆ ที่ใช้มือที่หยิบไม่ได้ บล็อกหกเหลี่ยมขนาดเล็ก - ใช้สำหรับขันน๊อตหกเหลี่ยมตัวเมียกับ
แผงเหล็กของเคส เพื่อยึดเมนบอร์ดเข้ากับตัวเคส หัวมะเฟือง - สำหรับยึดน๊อตพิเศษแบบหกเหลี่ยมสำหรับอุปกรณ์
บางประเภทที่ทางผู้ผลิตไม่ต้องการให้ผู้ที่ไม่ใช่ช่างอาชีพมาแกะซ่อมเอง
3. จัดเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมก่อนลงมือประกอบเครื่อง
อุปกรณ์ต่างๆ เช่น ซีพียู แรม เมนบอร์ด ฮาร์ดดิสก์
การจัดเตรียมอุปกรณ์จะต้องเริ่มด้วยๆ จากกล่องเพื่อเช็คสภาพและดูว่ามีอะไรบ้าง
ซึ่งต้องทำอย่างระมัดระวังนะคะ จากนั้นเราต้องจัดวางอุปกรณ์นั้นๆ ไว้อย่างเป็นสัดส่วน และ
เป็นระเบียบ หยิบใช้ ได้ สะดวกรวดเร็วค่ะลองใช้วิธีที่ดิฉันจะนำเสนอ นี้ดูนะคะ...อาจช่วยให้
คุณ ๆ ประกอบคอมพิวเตอร์ได้อย่างราบรื่นและรวดเร็วค่ะ!... ซีพียู - เมื่อแกะออกมาแล้วให้ตรวจดูสภาพของขาซีพียูว่ามีการหักหรือคดงอหรือไม่ จากนั้น
จึงตรวจดูใบรับประกันว่าถูกต้องหรือไม่ หากไม่ถูกต้องควรนำไปให้ทางร้านที่จำหน่าย
ตรวจสอบอีกครั้งหนึ่ง
แรม - ตรวจดูสภาพว่ามีร่องรอยชำรุดหรือไม่ และตรวจดูระยะ เวลาสิ้นสุดการประกัน เช่น เดือน
ปี ค.ศ. บนสติกเกอร์รับประกันว่าถูกต้องหรือไม่
ฮาร์ดดิสก์ - ตรวจดูสภาพว่ามีร่องรอยชำรุดหรือไม่ และตรวจดูระยะเวลาสิ้นสุดการประกัน
บนสติกเกอร์รับประกันที่ติดมาบนตัวฮาร์ดดิสก์ด้วย
เมนบอร์ด - เมื่อแกะกล่องออกมาให้ครวจดูว่ามีอุปกรณ์ เช่น แผ่นซีดีไดร์วเวอร์ และสายสัญญาณต่างๆ
มาให้ครบถ้วนหรือไม่ จากนั้นจึงตรวจสอบดูสภาพของเมนบอร์ดว่ามีร่องรอยชำรุดหรือไม่
และต้องไม่ลือตรวจดูระยะเวลา สิ้นสุดการรับประกัน บนสติกเกอร์รับประกันที่ติดอยู่ด้วย
อุปกรณ์อื่นๆ - เช่น การ์ดจอ, การ์เสียง, การ์ดโมเดม และจอภาพหลังจากแกะกล่องออกมาแล้ว
ก็ตรวจดูเดียวกับเมนบอร์ด คือ ดูว่ามีอะไรให้มาบ้าง สภาพเป็นอย่างไรระยะเวลาสิ้นสุด
การรับประกัน ถูกต้องหรือไม่ ขั้นตอนการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ หลังจากที่เราจัดเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ พร้อมแล้วเราจะเริ่มประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์
เพื่อใช้งานกันค่ะ เพื่อให้สามารถประกอบเครื่องอย่างราบรื่น จึงขอลำดับขั้นตอนการประกอบ อุปกรณ์
เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ออกเป็น 12 ขั้นตอน ดังนี้ค่ะ 1. เตรียมเคสสำหรับติดตั้งเมนบอร์ด 2. ติดตั้งซีพียูบนเมนบอร์ด 3. ติดตั้งแรมเข้ากับบนเมนบอร์ด
4. ติดตั้งเมนบอร์ดเข้ากับตัวเคส
5. ติดตั้งฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์ 6. ติดตั้งฮาร์ดิสก์
7. ติดตั้งซีดีรอม/ ดีวีดีรอม 8. ติดตั้งการ์ดจอ/ การ์ดเสียง
9. ต่อสายจ่ายไฟและสายสัญญาณเข้ากับเมนบอร์ด 10. ประกอบอุปกรณ์ ภายนอกเข้ากับเข้ากับตัวเครื่อง 11. ตรวจสอบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ 12. ติดตั้งอุปกรณ์เพิ่ม (ถ้าจำเป็น)
เตรียมเคสสำหรับติดตั้งเมนบอร์ด ขั้นตอนนี้ เป็นขั้นเริ่มต้นสำหรับการประกอบเครื่อง ใช้ไขควงขันน๊อตยึดตัวเคส (Case)
แล้วเปิดฝาข้างออกก็จะได้รูปร่างดังรูปที่เห็นข้างล่างนี้...ภายในเคสจะมีชุดน๊อตประกอบเครื่อง
สายพาวเวอร์เครื่อง จากนั้นให้แกะออกมาจัดเตรียมให้พร้อมแล้วเปิดแผงเหล็กกั้นด้านข้าง
ตัวเคสออกมา เพื่อเตรียมประกอบเข้ากับเมนบอร์ด ภาพการจัดเตรียมเคสเพื่อประกอบคอมพิวเตอร์ ติดตั้งซีพียูบนเมนบอร์ด การติดตั้งซีพียูบนเมนบอร์ดในปัจจุบันจะสะดวกกว่าเมื่อก่อนมาก เนื่องจากส่วนใหญ่
จะเป็นซ็อคเก็ต (Socket) หรือที่เราใช้เรียกชื่ออย่างเป็นทางการว่า PGA (pin Grid Array)
ซีพียูที่ใช้ช่องเสียบหรือซ็อคเก็ตแบบ PGA นั้นก็คือ ซีพียูที่มีขาทั้งตัวอยู่ใต้แผ่นเซรามิคหรือ
แผ่นพลาสติกแบนๆ ซึ่งมีหลายรุ่นและใช้เสียบ กับซ็อคเก็ต แบบต่างๆกัน ซ็อคเก็ตในปัจจุบัน
จะเป็นแบบ ZIF (Zero InsertionForce)ที่เพียงแต่ง้างกระเดื่องอกทางด้านข้าง แล้วโยก
ขึ้นมา จากนั้นก็วางซีพียูลงไป แล้วกดกระเดื่องกลับเข้าไป โดยดันกลับไปจนสุดกระเดื่องจะกลับ
เข้าล็อคและยึดซีพียูให้อยู่กับที่ ดังนั้นเวลาติดตั้งกับซ็อคเก็ตบนเมนบอร์ดให้หันมุมที่มีรอยหยัก
ให้ตรงกับด้านที่มีรอยหักบนเมนบอร์ดก็จะเสียบได้พอดี แต่หากใส่ไม่เข้าอย่าฝืนดันเข้าไปนะคะ !...
#...ควรถอดออกมาตรวจสอบและตรวจดูมุมหักให้ถูกต้องแล้วจึงใส่เข้าไปใหม่ค่ะ...# หลังจากนั้นก็ทำการติดตั้งพัดลมระบายความร้อนให้กับซีพียู หรือHeat Sink ลงบน
ตัวซีพียูเพื่อช่วยระบายความร้อนโดยก่อนติดตั้งควรทาซิลิโคนให้เป็นฟิล์มบางๆ ลงบน Core
ของซีพียูเสียก่อน เพื่อช่วยถ่ายเทความร้อนจากซีพียูไปสู่ตัว Heat Sink ได้ดียิ่งขึ้น หรือถ้า
Heat Sink มีแผ่นช่วยระบายความร้อนติดมาให้แล้วก็สามารถใช้แทนซิลิโคน หลังจากวาง
Heat Sink ลงไปบนซีพียูแล้วให้ยึดคลิปโลหะเข้าขอเกี่ยวให้เรียบร้อยเพื่อยึดให้Heat Sink
อยู่กับที่ จากนั้นก็ต่อสายจากตัวพัดลมระบายความร้อนลงไปต่อที่ขั้วจ่ายไฟ 12 โวลต์
บนเมนบอร์ด ขั้นตอนการติดตั้งฮีตซิงค์ (Heat Sink) 1. ทำการวางฮิตซิงค์ลงไปในบล็อกของฐานติดตั้งให้ฐานล่างของฮีตซิงค์สัมผัสกับผิวหน้า
ของซีพียูพอดี
2. กดฮีตซิงค์ลงไปบนฐานรอง โดยกดให้เขี้ยวของฮีพซิงค์ล็อคเข้ากับขาของฐานรองทั้งสี่ด้าน
3. สับคันโยกของฮีตซิงค์ เพื่อยึดตัวฮีตซิงค์เข้ากับซีพียู ให้ระวังทิศทางของคานล็อคด้วย
4. เมื่อติดตั้งฮีตซิงค์เรียบร้อยแล้ว ให้เสียบสายพัดลมซีพียู เข้ากับขั้วต่อพัดลมบนเมนบอร์ด ภาพติดตั้งซีพียูบนเมนบอร์ดฮีตซิงค์และพัดลมซีพียู
ติดตั้งแรมเข้ากับบนเมนบอร์ด การติดตั้งแรมเข้ากับเมนบอร์ดทำได้ไม่ยากมีหลักอยู่ว่าในช่องเสียบแรมชนิดต่างๆ
จะมีคันล็อคอยู่ในตำแหน่งต่างกัน เพื่อป้องกันการเสียบแรมผิดด้าน จะทำให้แรมไหม้เสีย ดังนั้น
ก่อนเสียบแรม ทั้งแบบ SDRAM,DDRSDRAM และ RDRAM ควรตรวจดูคันล็อคว่าอยู่ด้านใด
และใส่แรมให้ถูกด้าน
โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1. ตรวจดูตำแหน่งของ Slot ที่จะใส่ RAM โดยสังเกตจากตัวอักษร DIMM 0,1,2 และ 3
ที่อยู่ตรงปลายด้านหนึ่งของ Slot โดยปกติแล้วเราจะเสียบลงบน Slot ใดก็ได้แต่ควรจะ
เริ่มต้นเสียบ RAM ตัวแรกลงใน DIMM 0 ก่อน
2. ให้ง้างตัวล็อคที่ปลายทั้งสองด้านของ DIMM 0ออกจากกัน
3. เสียบแผงหน่วยความจำ SDRAM ลงในช่องและกด RAM ลงไปเบาๆ บน Slot
โดยให้ด้านที่มีรอยบากตรงกับบ่าที่อยู่ตรงกลาง slot
4. ดันตัวล็อคที่ปลายทั้งสองข้างกลับเข้าที่ให้แน่นโดยให้เดือยที่ตัวล็อคตรงกับรอยบาก
ด้านข้างของแผงหน่วยความจำพอดีหรือโดยปกติแล้วเวลากด RAM ลงไปใน Slot ตรงๆ
ตัวล็อคทั้งสองข้างจะดีดกลับขึ้นมาล็อคเองโดยอัตโนมัติ ภาพการติดตั้งแรม ติดตั้งเมนบอร์ดเข้ากับตัวเคส ภายในกล่องเมนบอร์ดประกอบด้วยตัวเมนบอร์ด สายฮาร์ดดิสก์/ฟล็อปปี้ดิสก์ คู่มือเมนบอร์ด
และแผ่นซีดีไดร์เวอร์เมนบอร์ดมาให้ด้วย ให้ตรวจดูความเรียบร้อยก่อน สิ่งที่สำคัญที่สุดในขั้นตอนนี้
คือ เมื่อติดตั้งเมนบอร์ดเข้ากับแผงเคสแล้ว ให้กำหนดจัมเปอร์บนเมนบอร์ดเป็น "Normal"
(เมนบอร์ดที่ซื้อมาทุกอันจะถูกกำหนดจัมเปอร์ไว้เป็น "Clear CMOS" เพื่อป้องกันแบตเตอรี่หมด)
เพราะหากไม่กำหนดจัมเปอร์ให้ถูกต้อง หลังประกอบเครื่องแล้วจะบู๊ตเครื่องไม่ได้
การติดตั้งเมนบอร์ด มีขั้นตอนดังนี้ 1. แกะกล่องเมนบอร์ดตรวจดูคู่มือ และอุปกรณ์ต่างๆ ให้พร้อม
2. ขันแแท่นรองน๊อตเข้ากับแท่นเครื่องให้ตรงกับช่องบนเมนบอร์ด
3. วางทาบให้ช่องบนเมนบอร์ดตรงกับรูแท่นรองน๊อตที่ขันยึดกับแผงเคส
โดยสังเกตให้ร่องแท่นรองน็อตตรงกับเมนบอร์ดทุกช่อง
4. ขันน๊อตลงบนแท่นรองน๊อต เพื่อยึดเมนบอร์ดเข้ากับแผงเคส
5. ให้คีมปากจิ้งจกคีบจัมเปอร์ มาใส่ไว้ในตำแหน่ง "Normal"
การติดตั้งเมนบอร์ดเข้ากับเคส ติดตั้งฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์ การติดตั้งฟล็อปปี้ดิสก์ค่อนข้างง่ายกว่าติดตั้งอุปกรณ์อื่น เพราะมีสายที่ต้องติดตั้งเพียงสองเส้นคือ
สายไฟและสายสัญญาณ การติดตั้งสายไฟจะมีหัวล็อกอยู่ ถ้าไม่พอดีอย่าฝืนดันเข้าไปส่วนสายสัญญาณให้
เสียบขาที่หนึ่งให้ตรงกับฟล็อปปี้ดิสก์ มีหลักในการสังเกตคือเมื่อเสียบสายทั้งสองเส้นเข้ากับฟล็อปปี้ดิสก์แล้ว
สายไฟเส้นสีแดงและสายสัญญาณด้านที่มีสีแดงต้องอยู่ชิดกัน มีขั้นตอนดังนี้ 1. ใส่ฟล็อปปี้ดิสก์เข้าไปในช่องติดตั้งและดันเข้าไปให้สุด
2. ใช้ไขควงขัดน็อตยึดฟล็อปปี้ดิสก์เข้ากับช่องเคส
3. เสียบสายไฟและสายสัญญาณเข้ากับไดร์วให้ถูกด้าน ฟล็อปปี้ดิสก์บางรุ่น
เมื่อติดสายแล้วสายสีแดงของสายจ่ายไฟจะอยู่ด้านนอก กรณีนี้ให้เสียบ
สายสัญญาณด้านสีแดงอยู่ด้านนอกด้วย โดยยึดหลักถ้าอยู่ด้านในให้ชิดกัน
ถ้าอยู่ด้านนอกให้ตรงข้ามกัน
4. เสียบปลายสายสัญญาณอีกด้านเข้ากับช่องเสียบเมนบอร์ดโดยให้ด้าน
ที่มีสีแดงตรงกับขาหนึ่งบนเมนบอร์ด (มีเลขกำกับไว้) ภาพการติดตั้งฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์ ติดตั้งฮาร์ดิสก์ ก่อนการติดฮาร์ดดิสก์เข้าเครื่องให้กำหนดจับเปอร์ฮาร์ดดิสก์ก่อนโดยถ้าฮาร์ดดิสก์ลูกแรกสำหรับ
ติดตั้งและบู๊ตระบบต้องกำหนดให้เป็น Master อย่างเดียว สำหรับฮาร์ดดิสก์ ลูกที่สองที่ติดตั้งบนสาย
เดียวกันกำหนดเป็น slave และให้ติดตั้งสายสองเส้นเช่นเดียวกับฟล็อปปี้ดิสก์คือสายจ่ายไฟและสาย
สัญญาณเสียบให้ถูกด้านโดยสายจ่ายไฟจะมีรอบหักมุมบนส่วนสายสัญญาณให้สังเกตขาหนึ่งเป็นหลัก
โดยจะมี ตัวเลขกำกับไว้ที่ท้ายไดรว์ส่วนตัวสายขาหนึ่งจะมีสีแดง
โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1. กำหนดจัมเปอร์ฮาร์ดดิสก์ไว้ที่ตำแหน่ง master เพื่อบู๊ตเครื่อง
2. ใส่ฮาร์ดดิสก์เข้าไปในช่องใส่ไดร์วในเคสโดยดันไปให้สุดและขยับให้
ช่องขันน็อตของตัวไดร์วตรงกับรูยึดด้านข้างของตัวเคส
3. ขันน็อตยึดฮาร์ดดิสก์เข้ากับผลังยึดตัวเคสทั้งสองด้าน
4. เสียบสายจ่ายไฟและสายสัญญาณเข้าที่ท้ายฮาร์ดดิสก์ โดยให้สายจ่ายไฟ
ด้านที่มีรอยหักมุมอยู่บน ส่วนสายสัญญาณให้ด้านที่มีเส้นสีแดงอยู่ชิดกับสาย
จ่ายไฟ (สายสัญญาณสีแดงชิดกับสายจ่ายไฟสีแดง)
5. นำปลายอีกด้านของสายสัญญาณเสียบเข้ากับช่องต่อบนเมนบอร์ด
โดยให้เส้นสีแดงอยู่ตรงกับขาหนึ่งบนเมนบอร์ด ซึ่งจะมีตัวเลขกำกับอยู่
ติดตั้งซีดีรอม/ ดีวีดีรอม การติดตั้งซีดีรอมหรือดีวีดีรอม : มีหลักการคือให้กำหนดจัมเปอร์ที่ด้านหลังตัวไดรว์ก่อน เพื่อใช้สายเส้นเดียว
กับฮาร์ดดิสก์ หรือจะใช้สาย IDE อีกเส้นหนึ่งก็ได้ หากใช้สายสัญญาณเส้นเดียวกับ
ฮาร์ดดิสก์ ให้กำหนดเป็น slave เพื่อใช้สายเส้นเดียวกับฮาร์ดดิสก์ หรือจะใช้สาย IDE
อีกเส้นหนึ่งก็ได้ 1. กำหนดจัมเปอร์ด้านหลังไดร์วให้เป็น slave เพื่อใช้สายเส้นเดียวกับฮาร์ดดิสก์
หรือจะใช้สาย IDE อีกเส้นหนึ่งก็ได้
2. เพื่อใช้สายเส้นเดียวกับฮาร์ดดิสก์ หรือจะใช้สาย IDE อีกเส้นหนึ่งก็ได้
3. ขันยึดน็อตเพื่อยึดไดร์วเข้ากับตัวเคสให้แน่นทั้งสองด้าน
4. เสียบสายจ่ายไฟและสายสัญญาณเข้าท้ายไดฟ์โดยใช้ หลักการเดียวกับฮาร์ดดิสก์
คือจ่ายสายไฟด้านที่มีรอยหักอยู่บน ส่วนสายสัญญาณให้เส้นที่หนึ่ง (สีแดง)
อยู่ชิดกับสายจ่ายไฟ (แดงชนแดง) จากนั้นนำสายสัญญาณเสียงเสียบเข้าท้าย
ไดร์วให้สุด
5. นำปลายอีกข้างของสายสัญญาณไปเสียบบนเมนบอร์ดให้ด้านที่ มีสีแดง อยู่ตรงกับ
ขาหนึ่งบนเมนบอร์ด ภาพการติดตั้งซีดีรอมหรือดีวีดีรอม
ติดตั้งการ์ดจอและการ์ดเสียงเข้ากับเมนบอร์ด การติดตั้งการ์ดจอ ขั้นนี้ต้องติดตั้งอุปกรณ์ลงบนเมนบอร์ดและยึดกับตัวเคสด้วยจึงต้องประกอบเมนบอร์ด
พร้อมฝาข้างกับเข้าตัวเคสก่อนแล้วจึงเสียบการ์ดต่างๆ ลงบนเมนบอร์ดได้ ดังนี้ 1. นำเมนบอร์ดพร้อมแผงรองเกี่ยวเข้ากับตัวเคสเพื่อเตรียมปิดเข้าที่เดิม
2. ขันน๊อต หรือยึดสลักปิดฝาข้างเคสให้แน่น โดยตรวจสอบดูว่าได้เก็บสายสัญญาณต่างๆ
เรียบร้อยหรือยัง
3. นำการ์ดจอไปเสียบเข้ากับ slot บนเมนบอร์ด โดยดันลงไปตรงๆให้แน่น แล้วจึงขันน็อตไว้
โดยยึดเข้ากับตัวเคส การติดตั้งการ์ดเสียง มีวิธีการเหมือนกับการติดตั้งการ์ดจอ โดยมองหาสล๊อต PCI ซึ่งเป็นสล๊อต
ที่มีมากที่สุดในเครื่อง เสียบตัวการ์ดลงไปให้แน่นใช้น๊อตยึดเข้ากับเคส มีขั้นตอนพิเศษ
คือให้เสียบสายสัญญาณเสียงที่ต่อกับท้ายได้ฟ์ซีดีรอม/ดีวีดีรอมเข้ากับขั้วต่อบนการ์ดเสียง โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1. เตรียมการ์ดเสียงและมองหาสล๊อตแบบ PCI บนเมนบอร์ด
2. นำการ์ดเสียงเสียบเข้ากับสล๊อดแบบ PCIบนเมนบอร์ดให้แน่นโดยการขันน๊อต
เข้ากับท้ายเคสให้แน่น
3. นำสายสัญญาณอีกข้างหนึ่งมาเสียบกับขั้วรับ CD-IN บนการ์ดเสียงโดยเสียบด้านใด
ก็ได้เนื่องจากเป็นแค่ช่องเสียงเท่านั้น ภาพการติดตั้งการ์ดจอและการ์ดเสียง
ต่อสายจ่ายไฟและสายสัญญาณเข้ากับเมนบอร์ด ขั้นตอนนี้เป็นการติดตั้งสายชนิดต่างๆ ที่อยู่ภายในตัวเคสเข้ากับเมนบอร์ดเพื่อให้
เครื่องทำงานได้ ซึ่งได้แก่ สายจ่ายไฟให้กับเมนบอร์ด, สาย Power LED , สาย Power
Switch , สาย HDD LED , สาย Reset และสาย Speaker ซึ่งเป็นสายหลักที่จะต้อง
มีในทุกเครื่อง สายไฟหรือสายสัญญาณต่างๆ ที่จะต้องต่อภายในเครื่องจากเมนบอร์ดมายังปุ่ม
และไฟที่อยู่หน้าเครื่อง และลำโพงภายในตัวเครื่อง ซึ่งจำเป็นมากเพราะเสียงสามารถเป็นตัวบอก
ให้ทราบว่าส่วนใดมีปัญหา การเชื่อมต่อสายหน้าเครื่องเข้ากับเมนบอร์ด ขั้วสำหรับต่อสายต่างๆ
เข้ากับหน้าเครื่องได้แก่ สวิทช์ปิด-เปิดเครื่อง , ไฟสถานะการเปิดเครื่อง , ปุ่ม RESET, ลำโพง ,
ไฟสถานะฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น โดยมีขั้นตอนคือ ต่อสายจ่ายไฟเลี้ยงเมนบอร์ด 1. มองหาช่องรับไฟเลี้ยงบนเมนบอร์ดซึ่งเป็นขั้วสีขาวมีจำนวน 20 ช่อง เมื่อพบแล้วให้เตียม
จัดขั้วจ่ายไฟเลี้ยงจากตัวเคสไว้
2. นำสายจ่ายไฟเลี้ยงจากตัวเคสไปเสียบกับช่องรับไฟ เลี้ยงสีขาวบนเมนบอร์ดให้ด้านที่มี
หัวล็อคตรงกัน
3. หลังจากนั้นให้เสียบสายจ่ายไฟลงไปบนช่องรับไฟเมนบอร์ดให้แน่น
สายสัญญาณเครื่อง 1. ตรวจดูสาย Pin สำหรับเสียบสายสัญญาณบนเมนบอร์ดเปรียบเทียบกับภาพในคู่มือเมนบอร์ด
เพื่อให้ขาสัญญาณสำหรับสายชนิดต่างๆ
2. เมื่อทราบตำแหน่งที่ตั้งขาเสียบสายสัญญาณแล้วให้นำสายสัญญาณภายในเคสไปเสียบเข้ากับ
ขาเสียบบนเมนบอร์ด เสียบสายไฟและสายสัญญาณให้ตรงกัน หลังจากเสียบสายสัญญาณทุกเส้นแล้วให้นำฝาเคสมาปิดให้เรียบร้อย
ก็จะได้ คอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ ที่ประกอบไว้พร้อมสำหรับการติดตั้งระบบต่อไป ประกอบอุปกรณ์ภายนอกเข้ากับเข้ากับตัวเครื่อง
อุปกรณ์ภายนอกที่เป็นพื้นฐานสำหรับการใช้งานเครื่อง ได้แก่ การติดตั้งสายสัญญาณ
จอภาพลำโพง สายจ่ายไฟ คีย์บอร์ดและเมาส์เข้ากับเครื่อง
ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
1. เสียบหัวต่อคีย์บอร์ดเข้ากับช่องเสียบบนเครื่อง ซึ่งช่องเสียบจะเป็นสีม่วงให้หันรอบบากให้ตรงกับ
ร่องล็อคของช่องเสียบ
2. เสียบหัวต่อเมาส์ท้ายเครื่อง ซึ่งจะเป็นสีเขียวอ่อน ให้หันรอบบากให้ตรงกับร่องของช่องเสียบ
3. นำหัวต่อสัญญาณจอภาพ มาเทียบกับขั้วต่อจอภาพท้ายเคส ให้ด้านใหญ่-เล็กตรงกัน
แล้วเสียบให้แน่นพร้อมกับขันเกลียวด้วยน็อตที่อยู่ท้ายหัวต่อจอภาพ
4. เสียบสายแจ็คลำโพงเข้ากับช่อง Speaker ท้ายเคส
5. เสียบสายจ่ายไฟเลี้ยงจอภาพที่ท้ายเคส (อยู่ด้านหลัง Power Supply) ซึ่งเป็นช่องจ่ายไฟ
6. จากนั้นจึงนำสายจ่ายไฟเสียบเข้ากับไฟบ้านที่ท้ายเคส ซึ่งมักมีตัวอักษรกำกับไว้ เช่น AC230V การเสียบสายสัญญาณกับอุปกรณ์ภายนอก
ตรวจสอบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ก่อนที่จะทดลองเปิดเครื่องครั้งแรก ควรจะตรวจสอบความเรียบร้อยเครื่อง
เสียก่อนเพื่อลดปัญหาที่อาจร้ายแรงถึงขั้นทำให้อุปกรณ์เสียหายได้ โดยการดูด้วย
ตาเปล่า ดังนี้ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประกอบเสร็จแล้ว ตรวจสอบทั่วไป 1. ตรวจสอบการติดตั้งซีพียู ชุดระบายความร้อน และแรมว่าแน่นหนาเข้าล็อค
ดีแล้วหรือไม่ แรมต้องไม่เอียงและต้องให้แน่นสนิทไม่มีร่องใดๆ
2. ตรวจสอบเมนบอร์ดว่าไม่มีส่วนใดแนบชิดกับตัวเครื่อง ซึ่งเป็นสื่อที่
อาจจะทำให้เกิดการลัดวงจรได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งขาและสกรูสำหรับ
ยึดเมนบอร์ด ระวังอย่างให้ส่วนอื่นของเมนบอร์ดไปติดกับขานี้โดยตรง
3. ตรวจสอบสายไฟทั้งหมดว่าถูกต้องแน่นหนา ไม่สลับขั้วกัน
4. ตรวจสอบสายสัญญาณทั้งหมด เช่น สายแพหรือสายสัญญาณสำหรับ
ฮาร์ดดิสก์ ฟล็อปปปี้ดิสก์ และซีดีรอมไดร์ว สายไฟและสายสัญญาณที่ต่อ
ไปยังหน้าเครื่องไม่ให้เหลื่อมโดยเด็ดขาด เพราะถ้าไม่ถูกต้องจะทำให้ปุ่ม
เปิดเครื่อง หรือไฟแสดงสถานะทำงานผิดพลาด
5. ตรวจสอบการ์ดต่างๆ ว่าเสียบแน่นสนิทดีหรือไม่ ปัญหาและแนวทางการแก้ไข
อาการ | สาเหตุที่เป็นไปได้ | แนวทางการแก้ไข |
- ทุกอย่างเงียบไม่มีทั้งไฟ
และเสียง | - ไฟเลี้ยงไม่เข้า | - ตรวจสอบปลั๊ก , สวิทช์ , สายต่อเมนบอร์ด |
- ไฟไม่เข้าแต่มีเสียงปิ๊บๆ
- หลายๆ เสียง | - RAM และการ์ดจอไม่ถูกต้อง | - ตรวจสอบ RAM และการ์ดจอว่าแน่น หรือไม่ |
- จอไม่แสดงผลและมีเสียง
ปิ๊บเดียว หรือสองปิ๊บ | - ไฟไม่เข้าจอ | - ตรวจดูสายไฟ และสวิทช |
- ทุกอย่างปกติแต่
- ไฟฮาร์ดดิสก์ไม่ติด | - สายสัญญาณไม่ถูก | - ตรวจสอบว่าเสียบสายถูกต้องหรือไม่ ,
กลับขั้วกันหรือไม่ |
|
ติดตั้งอุปกรณ์เพิ่ม (ถ้าจำเป็น) นอกจากอุปกรณ์มาตรฐานแล้ว อาจมีอุปกรณ์อื่นๆอีกมากมายที่สามารถติดตั้งเพิ่มเติมเข้าไปได้อีก
ทั้งแบบติดตั้งภายในตัวเครื่อง เช่น ฮาร์ดดิสก์ตัวที่สอง และไดร์วต่างๆและแบบที่ติดตั้งเข้ากับพอร์ตต่างๆ
เช่น พริ้นเตอร์, (Printer),สแกนเนอร์, โมเด็ม (External), Access Point,USB Flash Drive,
กล้องดิจิตอล และกล้องถ่ายวิดีโอดิจิตอล เป็นต้น ซึ่งอาจจะมีรายละเอียดและวิธีการกำหนดให้ใช้งาน
ที่แตกต่างกันไป
อุปกรณ์ที่สามารถติดตั้งเพิ่มเติม
ปัจจุบันพอร์ต USB ได้กลายมาเป็นมาตรฐานสำหรับการเชื่อมต่อพีซีกับอุปกรณ์ต่างๆ
ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาใหม่โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อแทนพอร์ตอุปกรณ์ความเร็วต่ำแบบต่างๆที่ใช้กันอยู่เดิม
ไม่ว่าจะเป็นพอร์ตอนุกรม,พอร์ตขนานและพอร์ต PS/2 สำหรับเมาส์และคีย์บอร์ด ตลอดจถึงพอร์ตเกม
และอื่นๆโดยจะมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับความเร็วของอุปกรณ์รุ่นใหม่ๆ ที่นับวัน
จะเร็วขึ้นทุกทีจนเกินกว่าพอร์ตแบบเดิมจะรับไหว อุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ในปัจจุบันส่วนใหญ่มักถูกออกแบบมาให้เชื่อมต่อกับพีซีผ่านทางพอร์ต
USB เช่น พริ้นเตอร์, (Printer), สแกนเนอร์, อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบพกพา (Flash Drive)
และอื่นๆ โดยเชื่อมผ่านทางสาย USB เครื่องคอมพิวเตอร์จะสามารถตรวจสอบได้โดยอัตโนมัติว่า
อุปกรณ์นั้นคืออะไร และปรับตั้งคอยฟิกูเรชั่น หรือทรัพยากรต่างๆ เพื่อให้ใช้งานอุปกรณ์ดังกล่าวได้
ทันที ซึ่งเราเรียกว่าควสามารถในการทำงานแบบ Plug and Play นั่นเอง
ตัวอย่างอุปกรณ์ต่างเชื่อมพอร์ต USB MP3 , Flash Drive
เมื่ออเราประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์และติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ แล้ว ก็จะเป็นการกำหนดค่า BIOS
การแบ่งพาร์ติชั่น ติดตั้งระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์ต่างๆ เพื่อใช้ในการทำงานที่สมบูรณ์ ......
ซึ่งครูใจดี จะได้นำเสนอในเรื่องต่อไป… อย่าลืมติดตามนะคะ…
หมายเหตุ : สำหรับภาพประกอบเรื่องการประกอบคอมพิวเตอร์นี้ ค่อนข้างเล็ก และ
แสดงขั้นตอนไม่ละเอียด เพราะต้องประหยัดพื้นที่ของเว็บค่ะ… ที่จริงแล้ว
ได้ถ่ายรูปทุกขั้นตอนและถ่ายเป็นไฟล์วิดีโอสาธิตการประกอบแต่ละขั้นตอน
ไว้ด้วย แต่ไม่สามารถอัพโหลดภาพดังกล่าวได้จึงต้องบีบภาพให้มีขนาดเล็กๆ
" ครูใจดี " ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย!...ส่วนภาพเคลื่อนไหวที่ใช้ในการ
ตกแต่งเว็บก็นำมาจากเว็บที่ให้บริการทั่วๆ ไป ซึ่งขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ค่ะ |